วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเลือกคณะ และจัดอันดับ




  
การเลือกคณะ และจัดอันดับการเลือกคณะและจัดอันดับนับเป็นปัจจัยสำคัญเรื่องหนึ่งซึ่งนักเรียนมัธยมปลายที่ประสงค์จะสอบเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาโดยผ่านการสอบ
ADMISSIONS หรือ โควตา จะต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจน มิฉะนั้นอาจจะทำให้เสียโอกาสได้ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเริ่มศึกษาถึงหลักเกณฑ์ และฝึกฝนวิธีการ
เลือกคณะและจัดอันดับแต่เนิ่นๆ ทางบัณฑิตแนะแนวจึงจัดให้นักเรียนทดลองเลือกคณะและจัดอันดับของตนไว้พร้อมกับการสมัครสอบ PRE-ADMISSIONS
ครั้งนี้ด้วย โดยขอให้นักเรียนพิจารณาเลือกคณะและจัดอันดับตามแนวทางที่นำเสนอ เพื่อที่ทางสำนักงานจะได้ประเมินผลให้นักเรียนทราบได้ว่า จากผลการ
สอบของนักเรียนนั้น นักเรียนมีโอกาสสอบติดคณะที่เลือกไว้มากน้อยแค่ไหน โดยนักเรียนสามารถดูได้จาก "ใบประกาศผลสอบ" ซึ่งสำนักงานบัณฑิตแนะแนว
มั่นใจว่าผลการสอบที่ได้รับ จะช่วยให้นักเรียนนำไปใช้เป็นแนวทางในการเลือกคณะและจัดอันดับได้อย่างเหมาะสม และประสบความสำเร็จในที่สุด วิธีการเลือกคณะ การที่เราจะเลือกคณะอะไรบ้าง มีหลักเกณฑ์ใหญ่ๆ 2 ประการ คือ
1. ต้องรู้จักตนเองและสภาพแวดล้อม
1.1 รู้ในความถนัดหรือทักษะพิเศษของตนเอง ว่าเหมาะที่จะประกอบอาชีพอะไรต่อไปในอนาคต โดยอาจดูจากวิชาที่ตนชอบเรียนและสิ่งที่ตนชอบทำ
เช่น ชอบเรียนฟิสิกส์ และชอบต่อวงจรไฟฟ้า ก็ควรจะเลือกเรียนทางด้านวิศวะ
1.2 รู้ถึงระดับเกรดของตนเอง ว่าเรียนได้ระดับนี้มีสิทธิแค่ไหนที่จะสอบติดคณะที่มุ่งหวัง เช่น เรียนได้เกรด 1 กว่า หรือ 2 เล็กน้อย แต่เลือกแพทย์
จุฬาฯ อันดับ 1 ก็นับว่าสูงไป
1.3 ลักษณะนิสัยส่วนตัว เพราะอาชีพหลายอาชีพต้องการบุคคลที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะด้าน เช่น งานด้านศิลปะ หรืองานด้านแพทย์-พยาบาล เป็นต้น
1.4 สุขภาพและลักษณะร่างกาย เพราะบางคณะกำหนดคุณสมบัติเฉพาะไว้ เช่น ส่วนสูง, สายตา หรือโรคบางโรค
1.5 ดูความต้องการของญาติพี่น้อง และฐานะทางครอบครัว ประกอบด้วยว่าจะได้รับการสนับสนุนมากน้อยเพียงใด
2. ต้องรู้ข้อมูลเกี่ยวกับคณะต่างๆ
2.1 คุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือกเข้าคณะของมหาวิทยาลัยนั้น มีอะไรบ้าง (ดูรายละเอียดได้จากหนังสือคุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้า
ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ ของ สกอ. หรือ หนังสือคู่มือเลือกคณะในระบบ ADMISSIONS ของบัณฑิตแนะแนว)
2.2 คณะที่เราสนใจนั้น มีกี่มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนและสภาพในแต่ละมหาวิทยาลัย เช่น ที่ตั้ง, ระบบการเรียนการสอน, การวัดผล, บรรยากาศโดยทั่วไป
รวมตลอดถึงจำนวนคนที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งรับเข้าศึกษาต่อของคณะนั้นๆ
2.3 ค่านิยมของผู้เข้าสอบที่มีต่อคณะนั้นในปีที่ผ่านมาโดยดูจากระดับคะแนนต่ำสุด และจำนวนผู้เลือกสอบคณะนั้นๆ
จากข้อมูลทั้ง 2 ข้อนี้ เราจะนำมาพิจารณาถึงความเหมาะสมของคณะแต่ละคณะเพื่อตัดสินใจเลือกคณะที่สอดคล้องกับความชอบและความสามารถของเราที่สุด โดยให้ความสำคัญของแต่ละองค์ประกอบลดหลั่นกันไป เช่น การที่สถานที่เรียนจะอยู่ไกลหรือใกล้ย่อมสำคัญน้อยกว่าความชอบในคณะที่เราจะเลือก การจัดอันดับ ผู้สมัครสอบ ADMISSIONS แต่ละคนมีสิทธิเลือกคณะได้ 4 คณะ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในมหาวิทยาลัยเดียวกัน และผู้ที่เลือก
คณะเดียวกันแต่อันดับไม่ตรงกันก็มีสิทธิเท่ากันที่จะติดคณะนั้น ถ้าคะแนนเข้าถึงเกณฑ์ เช่น นาย ก เลือกรัฐศาสตร์เป็นอันดับ 1 นาย ข เลือกรัฐศาสตร์เป็น
อันดับ 3 ปรากฏว่า ในการสอบคะแนนเขาทั้งคู่สูงกว่าคะแนนต่ำสุดของคณะรัฐศาสตร์ (คือทำคะแนนได้สูงกว่าคนสุดท้ายที่สอบเข้าคณะรัฐศาสตร์ได้) เขาทั้งคู่
ก ก็จะได้รับการคัดเลือกให้เข้าเรียนรัฐศาสตร์เหมือนกัน สำหรับหลักเกณฑ์ในการ "จัดอันดับ" คณะที่เลือกให้เรียงอย่างถูกต้อง มีดังนี้
1. รวบรวมคณะที่ตนเองพิจารณาว่าเหมาะสม แล้วเรียงลำดับที่ต้องการ (อาจเกิน 4 คณะได้) โดยควรเลือกคณะที่ทำให้สอบน้อยวิชาที่สุด
(กล่าวคือ ในบรรดาคณะที่เลือกไว้ 4 คณะนั้น ควรจะมีวิชาที่สอบรวมกันไม่เกิน 7 หรือ 8 วิชา) เพื่อว่าเราจะได้อ่านหนังสืออย่างเข้าใจ และไม่ล้าเกินไป
2. นำคะแนนต่ำสุดของคณะทั้งหมดที่เลือกไว้ มาเรียงลำดับคะแนนจากคณะที่มีคะแนนต่ำสุดที่ "มากที่สุด" ไว้เป็นอันดับแรก และคณะที่มี
คะแนนต่ำสุดที่ "น้อยกว่า" รองลงมาเรื่อยๆ
หมายเหตุ การจัดเรียงลำดับด้วยวิธีนี้เหมาะกับการจัดเรียงคณะที่มีจำนวนวิชาสอบ, รหัสวิชาสอบ, ค่าน้ำหนักคะแนน หรือมีเงื่อนไขต่างๆ เหมือนกัน
แต่ถ้าคณะที่เลือกมีความแตกต่างกัน เช่น วิชาสอบไม่เหมือนกัน ค่าน้ำหนักแตกต่างกัน ก็ต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ด้วย ว่าจะเรียงลำดับคะแนนอย่างไร
3. การเลือกคณะที่มี "คะแนนต่ำสุด" ติดกันหมด อันตรายมาก ควรเลี่ยงเสีย โดยหันไปพิจารณาเลือกคณะเดียวกันของมหาวิทยาลัย
อื่นๆ ที่อาจมี "คะแนนต่ำสุด" น้อยกว่า เข้ามาแทนก็ได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้มีการทิ้งช่วงคะแนนบ้าง
4. การจัดอันดับโดยคร่าวๆ ทั่วไปมีลักษณะดังนี้
- อันดับ 1 หรือ อันดับ 1 ถึง 2 เลือกคณะที่เราอยากเรียนจริงๆ คือ ชอบมาก แต่ไม่ควรให้คะแนนสูงกว่าความสามารถจนเกินไป
- อันดับ 3 หรือ อันดับ 2 ถึง 3 เลือกประเภทวิชาที่เราชอบอยู่บ้าง และคะแนนควรรองๆ ลงมา
- อันดับ 4 ให้เลือกคณะต่ำที่สุดเท่าที่คิดว่าจะพอเรียนได้ โดยคณะที่เลือกเป็นอันดับ 4 ควรมี "คะแนนต่ำสุด" ไม่สูงกว่าคะแนนสอบที่นักเรียนทำได้
ข้อเสนอแนะ
1. อย่าดูถูกตัวเอง ประเมินให้ดีว่าเรามีความสามารถแค่ไหน อย่าเลือกสูงหรือต่ำเกินไป
2. จะยึดคะแนนสูง-ต่ำ ของการสอบคัดเลือก ปีล่าสุดเพียงปีเดียวไม่ได้ เพราะคะแนนจะมีการเปลี่ยนแปลงตามจำนวนผู้สมัครในแต่ละปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น