วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเลือกคณะ และจัดอันดับ




  
การเลือกคณะ และจัดอันดับการเลือกคณะและจัดอันดับนับเป็นปัจจัยสำคัญเรื่องหนึ่งซึ่งนักเรียนมัธยมปลายที่ประสงค์จะสอบเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาโดยผ่านการสอบ
ADMISSIONS หรือ โควตา จะต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจน มิฉะนั้นอาจจะทำให้เสียโอกาสได้ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเริ่มศึกษาถึงหลักเกณฑ์ และฝึกฝนวิธีการ
เลือกคณะและจัดอันดับแต่เนิ่นๆ ทางบัณฑิตแนะแนวจึงจัดให้นักเรียนทดลองเลือกคณะและจัดอันดับของตนไว้พร้อมกับการสมัครสอบ PRE-ADMISSIONS
ครั้งนี้ด้วย โดยขอให้นักเรียนพิจารณาเลือกคณะและจัดอันดับตามแนวทางที่นำเสนอ เพื่อที่ทางสำนักงานจะได้ประเมินผลให้นักเรียนทราบได้ว่า จากผลการ
สอบของนักเรียนนั้น นักเรียนมีโอกาสสอบติดคณะที่เลือกไว้มากน้อยแค่ไหน โดยนักเรียนสามารถดูได้จาก "ใบประกาศผลสอบ" ซึ่งสำนักงานบัณฑิตแนะแนว
มั่นใจว่าผลการสอบที่ได้รับ จะช่วยให้นักเรียนนำไปใช้เป็นแนวทางในการเลือกคณะและจัดอันดับได้อย่างเหมาะสม และประสบความสำเร็จในที่สุด วิธีการเลือกคณะ การที่เราจะเลือกคณะอะไรบ้าง มีหลักเกณฑ์ใหญ่ๆ 2 ประการ คือ
1. ต้องรู้จักตนเองและสภาพแวดล้อม
1.1 รู้ในความถนัดหรือทักษะพิเศษของตนเอง ว่าเหมาะที่จะประกอบอาชีพอะไรต่อไปในอนาคต โดยอาจดูจากวิชาที่ตนชอบเรียนและสิ่งที่ตนชอบทำ
เช่น ชอบเรียนฟิสิกส์ และชอบต่อวงจรไฟฟ้า ก็ควรจะเลือกเรียนทางด้านวิศวะ
1.2 รู้ถึงระดับเกรดของตนเอง ว่าเรียนได้ระดับนี้มีสิทธิแค่ไหนที่จะสอบติดคณะที่มุ่งหวัง เช่น เรียนได้เกรด 1 กว่า หรือ 2 เล็กน้อย แต่เลือกแพทย์
จุฬาฯ อันดับ 1 ก็นับว่าสูงไป
1.3 ลักษณะนิสัยส่วนตัว เพราะอาชีพหลายอาชีพต้องการบุคคลที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะด้าน เช่น งานด้านศิลปะ หรืองานด้านแพทย์-พยาบาล เป็นต้น
1.4 สุขภาพและลักษณะร่างกาย เพราะบางคณะกำหนดคุณสมบัติเฉพาะไว้ เช่น ส่วนสูง, สายตา หรือโรคบางโรค
1.5 ดูความต้องการของญาติพี่น้อง และฐานะทางครอบครัว ประกอบด้วยว่าจะได้รับการสนับสนุนมากน้อยเพียงใด
2. ต้องรู้ข้อมูลเกี่ยวกับคณะต่างๆ
2.1 คุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือกเข้าคณะของมหาวิทยาลัยนั้น มีอะไรบ้าง (ดูรายละเอียดได้จากหนังสือคุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้า
ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ ของ สกอ. หรือ หนังสือคู่มือเลือกคณะในระบบ ADMISSIONS ของบัณฑิตแนะแนว)
2.2 คณะที่เราสนใจนั้น มีกี่มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนและสภาพในแต่ละมหาวิทยาลัย เช่น ที่ตั้ง, ระบบการเรียนการสอน, การวัดผล, บรรยากาศโดยทั่วไป
รวมตลอดถึงจำนวนคนที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งรับเข้าศึกษาต่อของคณะนั้นๆ
2.3 ค่านิยมของผู้เข้าสอบที่มีต่อคณะนั้นในปีที่ผ่านมาโดยดูจากระดับคะแนนต่ำสุด และจำนวนผู้เลือกสอบคณะนั้นๆ
จากข้อมูลทั้ง 2 ข้อนี้ เราจะนำมาพิจารณาถึงความเหมาะสมของคณะแต่ละคณะเพื่อตัดสินใจเลือกคณะที่สอดคล้องกับความชอบและความสามารถของเราที่สุด โดยให้ความสำคัญของแต่ละองค์ประกอบลดหลั่นกันไป เช่น การที่สถานที่เรียนจะอยู่ไกลหรือใกล้ย่อมสำคัญน้อยกว่าความชอบในคณะที่เราจะเลือก การจัดอันดับ ผู้สมัครสอบ ADMISSIONS แต่ละคนมีสิทธิเลือกคณะได้ 4 คณะ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในมหาวิทยาลัยเดียวกัน และผู้ที่เลือก
คณะเดียวกันแต่อันดับไม่ตรงกันก็มีสิทธิเท่ากันที่จะติดคณะนั้น ถ้าคะแนนเข้าถึงเกณฑ์ เช่น นาย ก เลือกรัฐศาสตร์เป็นอันดับ 1 นาย ข เลือกรัฐศาสตร์เป็น
อันดับ 3 ปรากฏว่า ในการสอบคะแนนเขาทั้งคู่สูงกว่าคะแนนต่ำสุดของคณะรัฐศาสตร์ (คือทำคะแนนได้สูงกว่าคนสุดท้ายที่สอบเข้าคณะรัฐศาสตร์ได้) เขาทั้งคู่
ก ก็จะได้รับการคัดเลือกให้เข้าเรียนรัฐศาสตร์เหมือนกัน สำหรับหลักเกณฑ์ในการ "จัดอันดับ" คณะที่เลือกให้เรียงอย่างถูกต้อง มีดังนี้
1. รวบรวมคณะที่ตนเองพิจารณาว่าเหมาะสม แล้วเรียงลำดับที่ต้องการ (อาจเกิน 4 คณะได้) โดยควรเลือกคณะที่ทำให้สอบน้อยวิชาที่สุด
(กล่าวคือ ในบรรดาคณะที่เลือกไว้ 4 คณะนั้น ควรจะมีวิชาที่สอบรวมกันไม่เกิน 7 หรือ 8 วิชา) เพื่อว่าเราจะได้อ่านหนังสืออย่างเข้าใจ และไม่ล้าเกินไป
2. นำคะแนนต่ำสุดของคณะทั้งหมดที่เลือกไว้ มาเรียงลำดับคะแนนจากคณะที่มีคะแนนต่ำสุดที่ "มากที่สุด" ไว้เป็นอันดับแรก และคณะที่มี
คะแนนต่ำสุดที่ "น้อยกว่า" รองลงมาเรื่อยๆ
หมายเหตุ การจัดเรียงลำดับด้วยวิธีนี้เหมาะกับการจัดเรียงคณะที่มีจำนวนวิชาสอบ, รหัสวิชาสอบ, ค่าน้ำหนักคะแนน หรือมีเงื่อนไขต่างๆ เหมือนกัน
แต่ถ้าคณะที่เลือกมีความแตกต่างกัน เช่น วิชาสอบไม่เหมือนกัน ค่าน้ำหนักแตกต่างกัน ก็ต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ด้วย ว่าจะเรียงลำดับคะแนนอย่างไร
3. การเลือกคณะที่มี "คะแนนต่ำสุด" ติดกันหมด อันตรายมาก ควรเลี่ยงเสีย โดยหันไปพิจารณาเลือกคณะเดียวกันของมหาวิทยาลัย
อื่นๆ ที่อาจมี "คะแนนต่ำสุด" น้อยกว่า เข้ามาแทนก็ได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้มีการทิ้งช่วงคะแนนบ้าง
4. การจัดอันดับโดยคร่าวๆ ทั่วไปมีลักษณะดังนี้
- อันดับ 1 หรือ อันดับ 1 ถึง 2 เลือกคณะที่เราอยากเรียนจริงๆ คือ ชอบมาก แต่ไม่ควรให้คะแนนสูงกว่าความสามารถจนเกินไป
- อันดับ 3 หรือ อันดับ 2 ถึง 3 เลือกประเภทวิชาที่เราชอบอยู่บ้าง และคะแนนควรรองๆ ลงมา
- อันดับ 4 ให้เลือกคณะต่ำที่สุดเท่าที่คิดว่าจะพอเรียนได้ โดยคณะที่เลือกเป็นอันดับ 4 ควรมี "คะแนนต่ำสุด" ไม่สูงกว่าคะแนนสอบที่นักเรียนทำได้
ข้อเสนอแนะ
1. อย่าดูถูกตัวเอง ประเมินให้ดีว่าเรามีความสามารถแค่ไหน อย่าเลือกสูงหรือต่ำเกินไป
2. จะยึดคะแนนสูง-ต่ำ ของการสอบคัดเลือก ปีล่าสุดเพียงปีเดียวไม่ได้ เพราะคะแนนจะมีการเปลี่ยนแปลงตามจำนวนผู้สมัครในแต่ละปี



เทคนิคการเรียนเก่ง 7 ข้อ จากหนูดี
ข้อที่ 1 : พกปากกาสี  12  สี  ติดตัว
ทฤษฎีสี กล่าวไว้ ว่า สีจะสามารถเพิ่มการจดจำเนื้อหาต่าง ๆ ได้มากกว่า สีน้ำเงินที่เขียนตามปกติ จึงควรซื้อปากกาสีต่าง ๆ ติดตัวไว้ เวลาอ่านหนังสือก็ใช้ปากกาสีในการจดเนื้อหา ของ stabio ก็ดีนะ ทนหลายปีเลย
* สำหรับคนที่กลัวว่าจะจดไม่ทันก็ใช้วิธีจดเฉพาะเนื้อหาสำคัญพร้อมกับบันทึกเสียงไปพร้อม ๆ กัน แค่นี้ก้อสามารถจดจำได้แล้วล่ะ
ข้อที่ 2 : ใช้สมุด note ที่ไม่มีเส้น
การใช้สมุด note ที่มีลายเส้นนั้นเหมือนเราอยู่แต่ในกรอบเส้นนั้น แต่ถ้าใช้สมุด note ที่ไม่มีเส้นนั้นจะทำให้เราไม่มีกรอบในการเขียน เราอยากเขียนอะไรก็อยากเขียนได้ทั้งนั้น  ปัจจุบันหาซื้อยาก ต้องลองหาแถว ร้านขายสมุดวาดรูปดูน่ะ
ข้อที่ 3 : บันทึกงานออกมาในรูป Mind Map Or Pic.
ถ้าเราอ่านหนังสือการ์ตูนตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว กับอ่านหนังสือ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เราจะสามารถจดจำการ์ตูนได้มากกว่า  เวลาจดเนื้อหาบางอย่างอาจจะจดในรูปแบบ Pic. จะสามารถจดจำได้มากกว่า
การบันทึกงานในรูปแบบของ mind Map จะเป็นการแบ่งเรื่องหัวข้อใหญ่ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการอ่าน อาจใช้ mind map เป็นรูปก็ได้
ข้อที่ 4 : Mp3
เราควรจะมี mp3 เพื่อใช้ในการบันทักเสียงเวลาที่คุณครูสอนแต่ไม่สามารถฟังและเก็บเกี่ยวเนื้อหาได้ครบทุกอย่าง
หากเราอัดไว้ก็จะสามารถย้อนกลับไปฟังได้ หลาย ๆ ครั้ง ก่อนสอบ
ข้อที่ 5 : เอาใจครู
เอาใจครูในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเอาอกเอาใจครู หมายถึง ทำตัวตามสไตร์ที่คุณครูชอบ เพื่อเพิ่มความชอบของคุณครูในตนเอง
เวลาเราชอบครูคนไหนก็อยากเรียนกับครูคนนั้น อยากส่งงาน ครู อยากเจอหน้าครู ก็จะทำให้เรียนเก่งยิ่งขึ้น เพราะเราอยากเรียนวิชานั้น ๆ
ข้อที่ 6 : พูดคุยกับปากกา
ก่อนสอบ หรือก่อนเขียนงานเราควรพูดคุยกับปากกาบ้าง  คุณหนูดี ก็ใช้วิธีนี้จนเรียนจบปริญญา
ข้อที่  7 : นั่งหน้าห้อง
นั่งหน้าห้องจะสามารถทำให้เราได้ยินมากกว่าคนที่นั่งข้างหลังเรา เห็นชัดกว่าคนข้างหลังเราและสามารถถามครูได้มากกว่า ซึ่งมันเป็นที่แน่นอนอยู่แล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

         คณะในฝัน  เรียนคณะไหนดี

คณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์

มีเป้าหมายที่สำคัญคือการผลิตครูและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพและสร้างประโยชน์ให้แก่ สังคม
    
ดังนั้นผู้เรียนจะได้เรียนรู้เนื้อหาของสาขาวิชาที่
ตนเลือกศึกษาไปพร้อมๆ กับจะถูกปลูกฝังถึงจิตสำนึก ในการเป็นครูที่ดีในอนาคต รวมถึงแทบทุกมหาวิทยาลัย จะมีวิชาบังคับให้ฝึกงานในโรงเรียนประถมหรือ มัธยมศึกษาต่างๆ

คณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์จะเน้นผลิตบุคลากรครูหรืออาจารย์เป็นสำคัญ แต่นอกจากจะประกอบอาชีพครูอาจารย์แล้ว ผู้ที่จบจากคณะนี้ยังสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายตามความถนัดในสาขาวิชาที่เรียนมา เช่น แอร์โฮสเตส ล่าม นักวิชาการ โปรแกรมเมอร์ เป็นต้น

ในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์จำนวนมาก ได้แก่
    
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
   
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
   
มหาวิทยาลัยนเรศวร
    
มหาวิทยาลัยบูรพา
   
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
   
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
   
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
   
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
   
มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
   
มหาวิทยาลัยศิลปากร 
   
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
   
มหาวิทยาลัยราชภัฏต่างๆ
   
นอกจากนี้ยังมีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

โดยสาขาที่เปิดสอนนั้น มีจำนวนมาก อาทิ
    - สาขาการสอนวิชาต่างๆ เช่น คณิต วิทย์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ จีน ฝรั่งเศส ศิลปะ ดนตรี คอมพิวเตอร์ สุขศึกษา แนะแนว
    - สาขาการสอนในระดับชั้นต่างๆ เช่น ปฐมวัย มัธยมศึกษา การศึกษานอกระบบ อุดมศึกษา
    - สาขาเทคโนโลยีการศึกษา
    - สาขาการบริหารการศึกษา
    - สาขาการวัดผลการศึกษา
    - สาขาธุรกิจการศึกษา
    เป็นต้น



คณะรัฐศาสตร์

คณะนี้เรียนอะไร?
คณะรัฐศาสตร์ เปิดสอนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารรัฐ การเมืองการปกครอง รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งการศึกษาวิชารัฐศาสตร์นั้น ต้องอาศัยศาสตร์หลายๆ ศาสตร์เข้ามาประกอบการศึกษา เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม
จบแล้วไปทำงานอะไรได้บ้าง?
เป็นความเข้าใจผิดอย่างหนึ่งของคนไทยที่มักคิดว่า สาขารัฐศาสตร์นั้นเรียนไปเพื่อเป็นนักการเมือง ซึ่งไม่ใช่เลยครับ เพราะรัฐศาสตร์นั้นเขาไม่ได้สอนวิธีการเป็นนักการเมือง ไม่ได้สอนวิธีเล่นการเมือง หรืออะไรก็ตามที่เราได้รับทราบกันตามสื่อสารมวลชนเลย หากแต่แก่นแท้ของรัฐศาสตร์นั้น คือ การศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการเมืองและการปกครอง และเดี๋ยวนี้ยังขยายไปถึงการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการภาครัฐ หรือที่เรียกว่ารัฐประศาสนศาสตร์อีกด้วย
นักศึกษาที่จบคณะรัฐศาสตร์สามารถเข้ารับราชการได้ทุกกระทรวง ทบวง กรม ทั้งยังสามารถสมัครเข้าทำงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและเอกชนได้อีกด้วย
หากจบในสาขาการเมืองการปกครองและรัฐประศาสนศาสตร์ ส่วนมากจะมุ่งไปเป็นปลัดอำเภอหรือข้าราชการอื่นๆ ในกระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน หรือกระทรวงยุติธรรม หรือเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลให้กับองค์กรรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทเอกชนครับ
สำหรับผู้ที่จบสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น สามารถทำอาชีพนักการทูต และเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นๆ เช่น กระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต สถานกงสุล บริษัทข้ามชาติ และแผนกระหว่างประเทศของธุรกิจเอกชน
แต่ทั้งนี้ นิสิตนักศึกษาที่จบจากคณะรัฐศาสตร์นั้น ยังสามารถประยุกต์เอาความรู้ที่ได้ไปใช้ในสายงานอื่นๆ ได้กว้างขวางและหลากหลายมากครับ ดังนั้นจึงไม่แปลกเลย ที่จะเห็นผู้ที่จบจากคณะนี้ไปทำงานต่างสาย เช่น พนักงานธนาคาร ธุรกิจส่วนตัว และอาชีพอิสระอื่นๆ ครับ

คณะรัฐศาสตร์เปิดสอนสาขาใดบ้าง?
คณะรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จะมีสาขาวิชาหลักๆ 3 สาขา คือ

-สาขาการเมืองการปกครอง
       ศึกษาเกี่ยวกับหลักทฤษฎีการเมือง ระบบการเมือง พฤติกรรมทางการเมือง การเมืองเปรียบเทียบ และการปกครองของประเทศต่างๆ ที่สำคัญ

-สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (การระหว่างประเทศ)
       ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นโยบายต่างประเทศของกลุ่มต่างๆ รวมถึงองค์การและกฎหมายระหว่างประเทศ

-สาขารัฐประศาสนศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ)
       ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารองค์การของรัฐ การวางแผนและการดำเนินนโยบายการบริหารต่างๆ เช่น การบริหารงานบุคคล การบริหารองค์การ การบริหารงานคลังและงบประมาณ การวางแผนและบริหารโครงการ วางแผนกำลังคน นโยบายสาธารณะ และการบริหารรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
แต่สำหรับมหาวิทยาลัยบางแห่ง คณะรัฐศาสตร์จะรวมเอาสาขาวิชาเหล่านี้เข้าไปไว้ด้วย ได้แก่
-สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
      ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นสิ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่างๆ ภายใต้โครงสร้างและการจัดระเบียบแต่ละสังคมที่แตกต่างกันตามลักษณะของวัฒนธรรม
-สาขาบริหารงานยุติธรรมและความปลอดภัย
      เกี่ยวกับการบริหารในระบบงานยุติธรรม ได้แก่ องค์กรตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ และคุมประพฤติ วิชาที่เรียนเน้นหนักไปในเรื่องหลักการบริหาร การบังคับใช้กฎหมายอาญา การแก้ปัญหาการกระทำผิดในสังคม ตลอดทั้งการบริหารเพื่อความปลอดภัยในองค์กรเอกชน

คณะวิทยาศาสตร์

คณะนี้เรียนอะไร ?
       คณะวิทยาศาสตร์ จะทำการเรียนการสอนเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์




คณะวิทยาศาสตร์ ทำอะไรได้บ้าง?
นักวิทยาศาสตร์ ครู อาจารย์ นักวิจัยแล้ว อาชีพจะแตกแขนงออกไปตามสาขาที่เรียน เช่น โปรแกรมเมอร์   ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์ในบริษัทปิโตรเคมีต่างๆ
จบแล้วไปทำงานอะไรได้บ้าง?
นอกจากอาชีพหลักของนักศึกษาคณะนี้ ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์ ครู อาจารย์ และนักวิจัยแล้ว อาชีพของนักศึกษาที่จบจากคณะวิทยาศาสตร์นั้น ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับสาขาที่จบออกไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าจบในสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์นั้น อาชีพจะแตกแขนงออกไปได้หลากหลายมากๆ เช่น วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ก็จะมีอาชีพที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ได้แก่ โปรแกรมเมอร์ และผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนคนที่จบวิทยาศาสตร์ปิโตรเคมี ก็จะสามารถไปทำงานในฝ่ายพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์ในบริษัทปิโตรเคมีต่างๆ
       แต่นักศึกษาที่เลือกเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ ที่ไม่ได้เน้นการนำไปประยุกต์ใช้ ก็จะทำงานในส่วนของการวิจัยและทดลอง เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับวงการวิทยาศาสตร์และความก้าวหน้าของโลก

คณะวิทยาศาสตร์เปิดสอนสาขาใดบ้าง?
-คณิตศาสตร์
-เคมี
-เคมีอุตสาหกรรม
-ชีววิทยา
-ธรณีวิทยา
-ฟิสิกส์
-วิทยาการคอมพิวเตอร์
-สถิติ
-วิทยาศาสตร์ทางทะเล
-ธรณีวิทยา
-วิทยาศาสตร์ทั่วไป
-เทคโนโลยีชีวภาพ
-ปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์โพลิเมอร์
-พฤกษศาสตร์
-ชีวเคมี
-จุลชีววิทยา
-เคมีเทคนิค
-วัสดุศาสตร์
-วิทยาศาสตร์ภาพถ่าย
-เทคโนโลยีทางอาหาร
-เทคโนโลยีการเกษตร
-วิทยาศาสตร์มหโมเลกุล
-มาตรวิทยา
-เทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ
-กายวิภาคศาสตร์
-พยาธิชีววิทยา
-เภสัชวิทยา
-สรีรวิทยา
-วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
-เทคโนโลยีสารสนเทศ

คณะมนุษยศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์ ทำอะไรได้บ้าง?
ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา อาจารย์สอนภาษา นักแปล ล่าม มัคคุเทศ แอร์โฮสเตส นักจิตวิทยา นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี บรรณารักษ์  นักปรัชญา เลขานุการ
ช่างฝีมืองานคหกรรม นักพัฒนาชุมชน นักดนตรี  นักสารสนเทศและไอที ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนา ทำงานด้านโรงแรม
คณะนี้เรียนอะไร ?
ชื่อก็บอกแล้วว่า "มนุษยศาสตร์" ดังนั้น จะต้องเป็นคณะที่มีการเรียนการสอนในด้านต่างๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษาและการสื่อสาร ศิลปวัฒนธรรม รวมถึงพัฒนาการทางด้านวิถีชีวิตและจิตใจของมนุษย์
ในบางมหาวิทยาลัย จะมีการควบรวมเอาสาขาวิชาด้านสังคมศาสตร์
เข้ากับมนุษยศาสตร์ กลายเป็น "คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" ครับ
ซึ่งคณะนี้ จะมีสาขาอื่นๆ ที่แตกแขนงไปในทางสังคมศาสตร์รวมอยู่ด้วยครับ
จบแล้วไปทำงานอะไรได้บ้าง?
ถ้าจบสาขาวิชาที่เกี่ยวกับภาษา ก็จะเป็นได้ทั้งอาจารย์สอนภาษา ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา นักแปล ล่าม มัคคุเทศ รวมไปถึงอาชีพที่ต้องใช้ภาษาเป็นหลัก เช่น แอร์โฮสเตส ครับ
    แต่ถ้าจบสาขาวิชาอื่นๆ ก็จะเป็นได้ทั้งนักจิตวิทยา นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี บรรณารักษ์ นักปรัชญา เลขานุการ ช่างฝีมืองานคหกรรม นักพัฒนาชุมชน และนักดนตรี
นอกจากนี้ทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน การจัดการระบบไอทีหรือสารสนเทศ ศาสนา รวมถึงการโรงแรมและการท่องเที่ยวครับ



คณะมนุษยศาสตร์ เปิดสอนสาขาใดบ้าง?
ด้านภาษา
สาขาวิชาภาษาจีน
สาขาวิชาภาษาไทย
สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
สาขาวิชาวรรณคดีไทย
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ / การแปล
สาขาวรรณคดีอังกฤษ
สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจ
สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
สาขาวิชาภาษาจีน
สาขาวิชาภาษามาลายู
สาขาวิชาภาษามลายู
สาขาวิชามลายูศึกษา
สาขาวิชาภาษาอาหรับ
สาขาวิชาภาษาเกาหลี
สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
สาขาวิชาศิลปศาสตร์
สาขาวิชาภาษาปัจจุบันต่างประเทศ
สาขาวิชาภาษาเยอรมัน
สาขาวิชาภาษาสเปน
สาขาวิชาภาษาบาลี-สันสกฤต-ฮินดี
สาขาวิชาภาษาพม่า

ด้านอื่นๆ

สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
สาขาวิชาจิตวิทยา
สาขาวิชาประวัติศาสตร์
สาขาวิชามนุษยสัมพันธ์
สาขาวิชาบ้านและชุมชน
สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ
สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
สาขาวิชาพัฒนาสังคม / ชุมชน
สาขาวิชาการเลขานุการ
สาขาวิชาสื่อสารมวลชน
สาขาวิชาดนตรีไทย
สาขาวิชาดนตรีตะวันตก
สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา
สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
สาขาวิชาประวัติศาสตร์
สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
สาขาวิชาจริยศาสตรศึกษา

คณะเศรษฐศาสตร์

คณะนี้เรียนอะไร ?
เศรษฐศาสตร์ (Economics) เป็นวิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดให้กับมนุษย์ ซึ่งมีกิเลสตัณหาและความต้องการอย่างไม่มีขีดจำกัด ศาสตร์นี้จึงให้ความสนใจว่าจะจัดสรรทรัพยากรอะไร (What) อย่างไร (How) และเพื่อใคร (For Whom) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดครับ
บัณฑิตที่จบคณะนี้ จะรู้ซึ้งถึงภาวะเศรษฐกิจ เข้าใจปัญหาและเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทั้งยังสามารถคาดคะเนเหตุการณ์ และรู้วิธีรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตครับ
คณะเศรษฐศาสตร์ ทำอะไรได้บ้าง?
โบรกเกอร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน นักวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินของลูกค้า ที่ปรึกษาทางการเงิน ทำงานเกี่ยวกับหุ้นและตลาดหุ้น อาจารย์และนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ นักลงทุน นักวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจ และนักเศรษฐศาสตร์ประจำหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชนต่างๆ
จบแล้วไปทำงานอะไรได้บ้าง?
เศรษศาสตร์เป็นคณะที่จบมาแล้วทำงานได้กว้างมากครับ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้ในหลากหลายอาชีพ ตั้งแต่โบรกเกอร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน เจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อ นักวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินของลูกค้า ที่ปรึกษาทางการเงิน ทำงานเกี่ยวกับหุ้นและตลาดหุ้น อาจารย์และนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ นักลงทุน ธุรกิจส่วนตัว รวมถึงนักวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจครับบัณฑิตจากคณะเศรษฐศาสตร์สามารถเข้าทำงานได้ ทั้งในหน่วยงานของรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานเอกชน ตั้งแต่ธนาคาร
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัย และบริษัทอื่นๆ ที่ต้องการนักเศรษฐศาสตร์ไปช่วยวางแผนธุรกิจในบริษัทครับ
คณะเศรษฐศาสตร์ เปิดสอนสาขาใดบ้าง?
เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ / เศรษฐศาสตร์การจัดการ
     เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการพลิกแพลงเอาความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ไปใช้ในการบริหารจัดการในทุกๆ ด้านขององค์กรหรือธุรกิจต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการครับ

เศรษฐศาสตร์การเงิน
     เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการจัดการด้านการเงินให้มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยทฤษฎีและความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ครับ

เศรษฐศาตร์การคลัง
    
เรียนเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการการคลัง การหารายได้และการใช้จ่ายของรัฐบาล รวมถึงผลกระทบของมาตรการการคลังที่มีต่อเศรษฐกิจครับ

เศรษฐศาสตร์การพัฒนาและวางแผน
    
ศึกษานโยบายและกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งยังศึกษาบทเรียนตัวอย่างในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ครับ



เศรษฐศาสตร์แรงงานและทรัพยากรมนุษย์
   
เน้นการเรียนเพื่อนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปแก้ปัญหาตลาดแรงงาน ปัญหาการว่างงาน และการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม
     เป็นสาขาที่ศึกษาเพื่อหาวิธีจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ถูกนำไปใช้ในระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

เศรษฐศาสตร์ทฤษฎีและการวิจัย / เศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณ
    
เน้นการเรียนด้านทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก ซึ่งบัณฑิตจากสาขานี้จะเป็นคนที่มีการตัดสินใจที่แม่นยำ เพราะจะมีมุมมอง การคิดวิเคราะห์ และการเชื่อมโยง สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระดับภาพรวมได้เป็นอย่างดี

เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
     สาขานี้จะผสมผสานความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ เข้ากับความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้นักศึกษาแกร่งกล้ากระพือปีกบินได้ ในโลกของการค้าระหว่างประเทศครับ

เศรษฐศาสตร์เกษตร
     เรียนเพื่อนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในการจัดการการเกษตร

เศรษฐศาสตร์สหกรณ์
   
สาขานี้จะเน้นการจัดการสหกรณ์ ด้วยความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ครับ
เศรษฐศาสตร์การพัฒนา
    เรียนเพื่อนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับประเทศครับ
เศรษฐศาสตร์สาธารณะ
    ศึกษาบทบาทของรัฐบาลที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ทั้งยังวิเคราะห์บทบาทของรัฐบาล ในการใช้จ่ายงบประมาณและภาษีอากรของราษฎร และศึกษาถึงการใช้นโยบายการคลังในการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ

เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    เป็นการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมด้วยครับ



คณะนิติศาสตร์

คณะนี้เรียนอะไร ?
นิติศาสตร์ เป็นคณะที่ศึกษาเรื่องกฎหมาย ทั้งการศึกษาตัวบทกฎหมายเพื่อนำไปใช้ประกอบวิชาชีพนักกฎหมาย การศึกษากฎหมายในฐานะข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในประวัติศาสตร์หรือในสังคม และการศึกษากฎหมายในเชิงวิจารณ์เปรียบเทียบและประเมินคุณค่า
คณะนิติศาสตร์ ทำอะไรได้บ้าง?
ทนายความ  อัยการ ผู้พิพากษา นิติกร ฝ่ายกฎหมายภายในบริษัท ที่ปรึกษาทางกฎหมาย ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัด ฯลฯ
จบแล้วไปทำงานอะไรได้บ้าง?
ทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา นิติกร ฝ่ายกฎหมายภายในบริษัทต่างๆ ที่ปรึกษาทางกฎหมาย ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัด และอาชีพอื่นๆ ที่ต้องใช้ความรู้ทางกฎหมาย ทั้งในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน
คณะนิติศาสตร์ เปิดสอนสาขาใดบ้าง?
คณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จะไม่มีการแยกสาขาย่อยนะครับ แต่สำหรับคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น เมื่อนิสิตกำลังจะขึ้นปี 3 จำเป็นต้องเลือกสาขาวิชาเอก ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 สาขาดังนี้ครับ
     กฎหมายแพ่งและอาญา
     กฎหมายมหาชน
     กฎหมายระหว่างประเทศ
     กฎหมายธุรกิจ





คณะบัญชี
คณะนี้เรียนอะไร ?
การบัญชี จะศึกษาเกี่ยวกับการบันทึกรายการทางการค้า ได้แก่ การเขียนบันทึกรายการทางการค้า การจำแนกแยกประเภทหมวดหมู่ของรายการทางการค้า การสรุปผลการดำเนินงาน รวมไปถึงการวิเคราะห์และการแปลความหมายข้อมูลทางการเงิน เพื่อใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจทางธุรกิจ
คณะบัญชี ทำอะไรได้บ้าง?

นักบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี นักวางแผนต้นทุน นักวิเคราะห์ต้นทุน นักวิเคราะห์และจัดวางระบบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ นักเขียนโปรแกรมทางบัญชี(ทำตัวหนาที่ ผู้ตรวจสอบบัญชี นักวิเคราะห์ต้นทุน นักเขียนโปรแกรมทางบัญชี ครับ)

จบแล้วไปทำงานอะไรได้บ้าง?
นักบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชี นักวางแผนต้นทุน นักวิเคราะห์ต้นทุน นักวิเคราะห์และจัดวางระบบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ นักเขียนโปรแกรมทางบัญชีต่างๆ

คณะบัญชีเปิดสอนสาขาใดบ้าง?

การตรวจสอบบัญชี (Auditing and Internal Auditing) ศึกษากระบวนการและขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องและโปร่งใสของบัญชี 

การบัญชีบริหารหรือบัญชีต้นทุน (Managerial Accounting) ศึกษาด้านการนำเสนอข้อมูลเพื่อการบริหาร การวางแผน และการตัดสินใจทางด้านต้นทุนขององค์กรต่างๆ เป็นหลัก ระบบการจัดการข้อมูลข่าวสารทางการบัญชี (Accounting Information Systems) ศึกษาด้านการจัดการบัญชีด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และระบบคอมพิวเตอร์

คณะบริหารธุรกิจ
บริหารธุรกิจ ทำอะไรได้บ้าง?
นักธุรกิจ นักเล่นหุ้น นายธนาคาร พนักงานบัญชี เจ้าหน้าที่วิเคราะห์หลักทรัพย์ เจ้าหน้าที่การเงิน ผู้จัดการ CEO นักการตลาด เจ้าของกิจการ นักบริหาร อาจารย์/นักวิชาการด้านบริหารธุรกิจ ที่ปรึกษาด้านลอจิสติกส์ ผู้บริหารระบบสารสนเทศ

คณะนี้เรียนอะไร ?
คณะบริหารธุรกิจ หรือที่บางมหาวิทยาลัยใช้ชื่อว่า คณะวิทยาการจัดการ หรือคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ชื่อก็บอกตรงตัวแล้วครับว่าเกี่ยวกับเรื่องธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจจะจัดการเรียนการสอนในเรื่องกระบวนวางแผน การจัดองค์กร การบริหารงาน และการควบคุมการใช้ทรัพยากรของกิจการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของธุรกิจ
        มหาวิทยาลัยบางแห่งของประเทศไทย ได้แยกสาขาการบัญชีออกจากคณะบริหารธุรกิจ และก่อตั้งเป็นคณะการบัญชี เจาะลึกคณะบริหารธุรกิจในครั้งนี้ พี่ยีนจึงจะยังไม่กล่าวถึงสาขาการบัญชี โดยน้องๆ สามารถติดตามข้อมูลคณะการบัญชีได้ในคราวต่อไปครับ
จบแล้วไปทำงานอะไรได้บ้าง?

นอกจากเป้าหมายหลักคือ การเป็นนักธุรกิจหรือเจ้าของกิจการที่ประสบความสำเร็จแล้ว นิสิตนักศึกษาที่เรียนจบในสาขาต่างๆ ของคณะบริหารธุรกิจ ยังสามารถสมัครเข้าทำงานในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชนได้อีกด้วย
       ถ้าจบในสาขาการจัดการ ก็สามารถนำทักษะการจัดการไปใช้ในงานบริหารต่างๆ ของแต่ละหน่วยงาน ตั้งแต่ระดับพนักงานทั่วไป หัวหน้าฝ่าย ผู้จัดการสาขา ไปจนถึง CEO
       ถ้าจบในสาขาการเงินและการธนาคาร ก็สามารถเป็นพนักงานในแผนกสินเชื่อของธนาคารต่างๆ ไปจนถึงผู้จัดการธนาคาร นักวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน นักลงทุน ไปจนถึงนักวิชาการที่วิเคราะห์ด้านการเงินและการลงทุน
ถ้าจบในสาขาการตลาด ก็สามารถเข้าทำงานในแผนกการตลาด หรือเป็นนักวิชาการและที่ปรึกษาทางด้านการตลาดให้กับหน่วยงานต่างๆ


คณะเหล่านี้เปิดสอนสาขาใดบ้าง ?

โดยทั่วไปแล้วคณะบริหารธุรกิจจะเปิดสอนในสาขาต่างๆ ได้แก่
       การจัดการ (Management)
       การจัดการการผลิต (Production/Operation Management)
       การตลาด (Marketing)
       การเงิน (Financial)
       การธนาคาร (Banking)
       การบัญชี (Accounting)
       การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics  Management)
       การจัดการระบบสารสนเทศ (Information  System  Management)
         การบริหารสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (e-Office Management)
         การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)
         การจัดการอุตสาหกรรม (Industrial Management)
         การจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว (Hotel & Tourism Management)
         การบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Management)
         ผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)
         การบริหารธุรกิจค้าปลีก (Retail Business Management)
         คอมพิวเตอร์ธุรกิจ (Computer for Business)

       แต่สำหรับบางมหาวิทยาลัยจะมีการแยกสาขาบัญชีออกจากคณะบริหารธุรกิจ และก่อตั้งเป็นคณะการบัญชี

คณะนิเทศฯวารสารฯ และสื่อสารฯ
เด็กนิเทศฯ ทำอะไรได้บ้าง?

ว่ากันตั้งแต่เบื้องหน้าและเบื้องหลังการแสดง วงการบันเทิง สถานีโทรทัศน์ และภาพยนตร์ กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ผู้กำกับภาพยนตร์ นิตยสาร และเว็บไซต์ นักประชาสัมพันธ์ ครีเอทีฟโฆษณา กราฟฟิคดีไซเนอร์ โมเดลลิ่ง ช่างภาพ ดีเจ วีเจ นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย คอลัมนิสต์ และอื่นๆ อีกมหาศาล

คณะนี้เรียนอะไร ?

คณะนิเทศศาสตร์ จะศึกษาเกี่ยวกับศิลปะในการสื่อสาร โดยให้ความสำคัญกับทุกองค์ประกอบของการสื่อสาร ทั้งผู้ส่งสาร สาร สื่อ และผู้รับสาร คณะการสื่อสารมวลชนจะแตกต่างกับคณะนิเทศศาสตร์ตรงที่ การสื่อสารมวลชนจะมุ่งศึกษาการสื่อสารไปยังคนหมู่มาก แต่นิเทศศาสตร์จะครอบคลุมการสื่อสารทุกประเภท ทั้งแบบตัวต่อตัว การสื่อสารภายในกลุ่ม และการสื่อสารไปยังคนจำนวนมาก ส่วนคณะวารสารศาสตร์และการสื่อสารมวลชนนั้น แม้ชื่อจะออกแนวๆ สื่อสิ่งพิมพ์ แต่จริงๆ แล้วก็จะมีขอบเขตการศึกษามากมายครอบคลุมถึงสื่ออื่นๆ ด้วย ปัจจุบันแม้ทั้งสามคณะจะมีชื่อต่างกัน แต่สาขาวิชาที่เปิดสอนก็ไม่แตกต่างกันมากมายครับ



จบแล้วไปทำงานอะไรได้บ้าง?

นักศึกษาที่จบคณะนี้ มีงานให้ทำหลากหลายมากครับ คือ ที่ไหนมีการสื่อสาร ก็จะได้เห็นนักศึกษาคณะนี้แน่ๆ ครับ ว่ากันตั้งแต่เบื้องหน้าและเบื้องหลังการแสดง วงการบันเทิง สถานีโทรทัศน์ และภาพยนตร์ กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และเว็บไซต์ นักประชาสัมพันธ์ ครีเอทีฟโฆษณา กราฟฟิคดีไซเนอร์ ช่างภาพ ดีเจ วีเจ นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย และอื่นๆ อีกมหาศาล และก็มีนักศึกษาจำนวนไม่น้อยที่จบไปแล้วไม่ได้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารโดยตรง แต่ศักยภาพด้านความมั่นใจสูงของนักศึกษาคณะนี้ก็ไปเตะตากรรมการบริษัทมากมาย จนได้รับการทาบทามให้เข้าไปทำงานในตำแหน่งอื่นๆ ที่ต้องการคุณสมบัติของนักศึกษาเหล่านั้น



คณะเหล่านี้เปิดสอนสาขาใดบ้าง ?
1.               ภาพยนตร์ (Film)
2. วิทยุกระจายเสียง (Radio Broadcasting)
3. วิทยุโทรทัศน์ (TV)
4. ประชาสัมพันธ์ (Public Relation)
5. โฆษณา (Advertising)
6. การละคร / สื่อสารการแสดง (Drama / Performance Communication)
7. หนังสือพิมพ์ (Journalism)
8. นิตยสาร (Magazine)
9. สื่อใหม่ (New-Media)
10. การสื่อสารการตลาด (Marketing Communication)
11. สื่อดิจิตอล (Digital Media)
12. วาทวิทยา (Speech)
13. การจัดการ / บริหารการสื่อสาร (Communication Management)
14. สื่อสารมวลชน (Mass Communication)

คณะวิศวกรรมศาสตร์
เด็กวิศวะ ทำอะไรได้บ้าง!

วิศวกรตามสาขาต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น เป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์, วิศวกรไฟฟ้า, วิศวกรในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ, วิศวกรเคมี, วิศวกรระบบ, วิศวกรโยธา, วิศวกรอากาศยาน, เป็นต้น อาจารย์มหาวิทยาลัย, นักวิชาการ, นักวิจัย, พนักงานบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทคอมพิวเตอร์, บริษัทรถยนต์, บริษัทน้ำมัน, เป็นต้น


คณะนี้เรียนอะไร?

วิศวกรรมศาสตร์ เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ ด้วยการใช้องค์ความรู้ต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ และประสบการณ์ เพื่อออกแบบอุปกรณ์และกระบวนการต่างๆ คนที่ทำงานด้านวิศวกรรมจะเรียกว่า วิศวกร

      สำหรับวิศวกรในบางสาขาจำเป็นจะต้องขึ้นทะเบียนเพื่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมจากสภาวิศวกรก่อน ถึงจะออกแบบและเซ็นรับรองแบบได้

      น้องๆ ที่สนใจเรียนด้านนี้ พี่แก้มว่าอย่างหนึ่งเราก็ควรรักการคำนวณด้วยนะคะ พวกวิชาเลข ฟิสิกส์ เพราะการคำนวณเป็นพื้นฐาน ที่จะทำให้เรารู้จักคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการเรียนด้านนี้


จบแล้วไปทำงานอะไรได้บ้าง?
แน่นอนล่ะว่าต้องเป็นวิศวกร! แต่ว่าวิศวกรที่ว่าก็แตกต่างกันออกไป มีทั้งวิศวกรคอมพิวเตอร์ วิศวกรระบบ วิศวกรกระบวนการ วิศวกรไฟฟ้า เยอะแยะมากมายเลยค่ะ หรือบางคนก็ไปทำงานที่เกี่ยวข้องกับสายงานด้านนี้

      คณะนี้จะสอนให้น้องๆ คิดอย่างเป็นระบบ และวิเคราะห์สิ่งต่างๆ อย่างละเอียดรอบคอบ เพราะบางอย่างเราก็ต้องรับผิดชอบงานที่ส่งผลกระทบต่อคนส่วนมาก เช่น การก่อสร้างอาคาร หรือการดูแลเครื่องจักรต่างๆ เป็นต้น

      พี่แก้มเชื่อว่าใครที่เรียนคณะนี้แล้ว จบออกมาก็จะเป็นคนที่รอบคอบมากเลยค่ะ

เปิดสอนสาขาใดบ้าง?
คณะวิศวะถือเป็นคณะที่มีสาขาให้เราเลือกเรียนมากมายเลยนะคะ อีกทั้งมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ก็เปิดสอนคณะนี้กันเกือบทั้งหมด ซึ่งบางทีแต่ละที่ก็จะมีสาขาที่มากน้อยต่างกัน มาดูกันสิว่าในประเทศไทยส่วนใหญ่แล้วมีเปิดสอนสาขาใดบ้าง
สาขาต่างๆ ของวิศวกรรมศาสตร์หรือที่เกี่ยวข้อง
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์
วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์
วิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมระบบสิ่งก่อสร้าง
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
วิศวกรรมโทรคมนาคม
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
วิศวกรรมเคมี
วิศวกรรมชีวเวช
วิศวกรรมการผลิต
วิศวกรรมเกษตร
วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
วิศวกรรมดินและน้ำ
วิศวกรรมขนส่ง
วิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ
วิศวกรรมความปลอดภัย
วิศวกรรมปิโตรเลียม
วิศวกรรมปิโตรเคมีวิศวกรรมซอฟต์แวร์
วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร
วิศวกรรมสารสนเทศ
วิศวกรรมสื่อสาร
วิศวกรรมชายฝั่ง
วิศวกรรมสมุทรศาสตร์
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต
วิศวกรรมเครื่องกลและการผลิต
วิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมระบบอุปกรณ์และการควบคุม
วิศวกรรมโลหการ
วิศวกรรมวัสดุ
วิศวกรรมอุตสาหการ
วิศวกรรมสำรวจ
วิศวกรรมเหมืองแร่
วิศวกรรมอากาศยาน
วิศวกรรมอาหาร
วิศวกรรมพลาสติก
วิศวกรรมพอลิเมอร์
วิศวกรรมต่อเรือ
วิศวกรรมการจัดการ


คณะอักษรศาสตร์
เด็กอักษรฯ ทำอะไรได้บ้าง!

นักเขียน, นักเขียนบทละคร, นักวิจารณ์, บรรณาธิการ ,นักแปล, อาจารย์สอนภาษา, นักวิชาการ, นักประชาสัมพันธ์, เลขานุการ, แอร์โฮสเตส, ล่าม, มัคคุเทศก์, ทำงานด้านโรงแรม, พนักงานในบริษัทต่างประเทศ, ข้าราชการ, อาชีพอื่นๆ ที่ต้องอาศัยความสามารถทางการติดต่อสื่อสาร

คณะนี้เรียนอะไร?
คณะอักษรศาสตร์...
      ดูจากชื่อแล้วคิดว่าน้องๆ ทุกคนคงรู้แล้วว่าคณะนี้สอนเกี่ยวกับเรื่องใด แต่นอกจากชื่อคณะที่บ่งบอกแล้ว ที่จริงคณะนี้ยังมีอะไรให้เรียนรู้อีกมากมายเลยค่ะ
      เอาคร่าวๆ ก็คือ คณะนี้จะสอนให้น้องๆ เรียนรู้ภาษาต่างๆ อีกทั้งความคิดของคนผ่านทางภาษานั้น สอนให้เราเข้าใจในคุณค่าทางวัฒนธรรมของมนุษย์ เพราะภาษาจะเป็นตัวกลางที่จะทำให้น้องๆ เข้าใจความคิดของผู้คน

จบแล้วไปทำงานอะไรได้บ้าง?
ทุกวันนี้พี่แก้มว่า ใครรู้ภาษาเยอะก็จะได้เปรียบกว่าคนอื่นเหมือนกันนะ เพราะคนเราต้องติดต่อสื่อสารผ่านภาษา
      ฉะนั้นใครจะบอกว่าเรียนภาษาไปแล้วจะไปทำอะไรได้นอกจากนักเขียน นักแปล หรือเป็นครูสอนภาษาคงต้องเปลี่ยนความคิดกันแล้วค่ะ เพราะบริษัทต่างประเทศที่อยู่ที่ประเทศไทยก็มีมากมาย ต่างก็ต้องการคนที่สื่อสารภาษาของเขาได้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมัน สเปน โอ้ เยอะแยะไปหมดเลยค่ะ 555+
      เด็กคณะนี้จะเข้าไปช่วยให้ธุรกิจไหลลื่นด้วยภาษาที่พวกเขาเรียนรู้มา ไม่ว่าจะเป็นล่าม หรือทำงานในตำแหน่งต่างๆ อีกอย่างก็คือ คณะอักษรศาสตร์ไม่ได้มีแต่ภาษาเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอีกหลายเอกให้น้องๆ เลือกเรียนกันด้วย เช่น ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ศิลปะการละคร เป็นต้น

เปิดสอนสาขาใดบ้าง?
คณะอักษรศาสตร์มีทั้งหมด  2 ที่ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยศิลปากร
     น้องๆ อาจสงสัยว่า เอ ทำไมพี่แก้มไม่แนะนำคณะอื่นของมหาวิทยาลัยที่สอนภาษาเหมือนกัน พี่แก้มอยากจะแนะนำตามชื่อคณะนะคะ น้องๆ จะได้รู้ว่า คณะนี้มีที่ไหนบ้าง ทุกที่ต่างก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป
     เรามาดูวิชาเอกของอักษร จุฬาฯ กันดีกว่าค่ะ


วิชาเอกของอักษร จุฬาฯ

1. ภาษาไทย

8. ภาษาบาลีและสันสกฤต
2. ภาษาอังกฤษ

9. ภาษาจีน
3. ประวัติศาสตร์

10. ภาษาญี่ปุ่น
4. ภูมิศาสตร์

11. ภาษาฝรั่งเศส
5. สารนิเทศศึกษา

12. ภาษาเยอรมัน
6. ปรัชญา

13. ภาษาสเปน
7. ศิลปการละคร

14. ภาษาอิตาเลียน
ส่วนที่มหาวิทยาลัยศิลปากรก็มีทั้งหมด 14 เอกเหมือนกันค่ะ แต่มีความแตกต่างกันอย่างไร ไปดูกันเลย!
วิชาเอกของอักษร ศิลปากร

1. ภาษาไทย

8. สังคีตศิลป์ไทย
2. ภาษาอังกฤษ

9. ปรัชญา
3. ภาษาฝรั่งเศส

10. สังคมศาสตร์และการพัฒนา
4. ภาษาเยอรมัน

11. สารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
5. ประวัติศาสตร์

12. ภาษาจีน
6. ภูมิศาสตร์

13. ภาษาญี่ปุ่น
7. นาฏศาสตร์

14. ภาษาเกาหลี